บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันๆ ทำอะไร....


เมื่อครั้งเยาว์วัย


วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล

 อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) ประดิษฐานอยู่ตรงวงเวียนศูนย์ราชการ ปากทางเข้าสู่ตัวเมืองชัยภูมิ อนุสาวรีย์แห่งนี้ชาวจังหวัดชัยภูมิได้ร่วมใจกันสร้าง ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระยาภักดีชุมพล ผู้ก่อตั้งเมืองชัยภูมิ ซึ่งชาวชัยภูมิทั้งหลายเรียกท่านว่า "เจ้า พ่อพระยาแล" 

  

กุดโง้ง

กุดโง้ง เป็นหมู่บ้านที่มีโบราณวัตถุประเภทใบเสมาที่ทำด้วยหินสลักเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางต่าง ๆ ชาวบ้านได้นำใบเสมา มารวมกันไว้ในโรงเรียนบ้านกุดโง้งประมาณ 20 ชิ้น อยู่ในตำบลหนองนาแซง ทางเข้าวัดกุดโง้งมีสองทางคือ ไปตามถนนสายชัยภูมิ-บัวใหญ่ จากศาลากลางจังหวัดประมาณ 12 กิโลเมตร แยกขวามือเข้าบ้านกุดต้ม แล้วจาก บ้านกุดต้มเข้าที่บ้านกุดโง้งอีก 12 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งไปตามถนนสายชัยภูมิ-สีคิ้ว หรือทางหลวงหมายเลข 201 จากทางแยกโนนไฮไปทางใต้ประมาณ 6 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านขวาน้อย ตรงไปจนถึงบ้านบุ่งคล้า เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านกุดโง้งอีกประมาณ 2 กิโลเมตร

  

ศาลเจ้าพ่อพระยาแล

 ศาลเจ้าพ่อพระยาแล ศาลเจ้าพ่อพระยาแล ตั้งอยู่ริมหนองปลาเฒ่า ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิประมาณ ๓ กิโลเมตร แยกทางเข้าไปจากถนนใหญ่สายชัยภูมิ บ้านเขว้า เลี้ยวขวาเข้าสู่ริมหนองปลาเฒ่าที่ริมน้ำแห่งนี้มีต้นมะขามใหญ่ซึ่งกล่าวกันว่าเจ้าพระยาและถูกทหาร เวียงจันทร์ ฆ่าที่นี่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๙ มีศาลสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่ใต้ต้นมะขาม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ชาว จังหวัดชัยภูมิได้พร้อมใจกันสร้างศาลพระยาภักดีชุมพล ขึ้นประดิษฐานรูปหล่อของท่านไว้ภายใน เพื่อเป็น ที่เคารพสักการะบูชาของชาวเมืองชัยภูมิ 

  

ปรางค์กู่

ปรางค์กู่ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัวตำบลในเมือง
 เขตอำเภอเมือง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 3 กิโลเมตรคือ จากจังหวัดชัยภูมิมาตามทางหลวงหมายเลข 202 ประมาณ 1 กิโลเมตรจะมีทางแยกเลี้ยวขวาเข้าปรางค์กู่เป็น ระยะทาง 2 กิโลเมตร
 ปรางค์กู่เป็นปราสาทอีกแห่งหนึ่งที่มีแผนผังและลักษณะเช่นเดียวกับ ปราสาทที่ได้พบ
 หลักฐานว่าเป็นอโรคยศาลที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 นั่นคือ มีปรางค์ประธานอยู่ตรง กลาง 1 องค์ วิหารหรือบรรณาลัยด้านหน้า 1 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีโคปุระเฉพาะด้านหน้า ทั้งหมด 
ก่อด้วยศิลา แลง ยกเว้นกรอบประตูหน้าต่าง ทับหลัง เสาประดับเป็นหินทราย
 หันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกกำแพง ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ 1 สระ ยังคงสภาพสมบูรณ์ดีอยู่มาก โดยเฉพาะปรางค์ ประธานซึ่ง มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 เมตร ย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีประตูเข้าออกทำเป็นมุขยื่น ออกมา ผนัง ปรางค์อีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก เหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือยังคงมีทับหลังติดอยู่ จำหลัก ภาพตรง กลางเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิเหนือหน้ากาล ซึ่งจับท่อนพวงมาลัยไว้ด้วยมือทั้งสองข้าง ด้าน ข้างทางซ้ายและขวาจำหลักรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร 4 กร กับรูปนางปรัชญาปารมิตา ด้านหน้ายัง มี ทับหลังเช่นกัน สันนิษฐานว่าสลักเป็นภาพเดียวกัน แต่ปัจจุบันลบเลือนมาก ที่ช่องประตูหลอกด้านทิศ เหนือ ยังมีพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิ ศิลปะแบบทวาราวดี ขนาดสูง 1.75 เมตร หน้าตักกว้าง 75 เมตร ประดิษฐาน อยู่ 1 องค์ ซึ่งเป็นของที่เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น นอกจากนี้ยังพบทับหลังและองค์ประกอบสถา- ปัตยกรรมอื่น ๆ เช่น เสาประดับประตู เป็นต้น 




ศาลเจ้าพ่อตาดโตน

 ศาลเจ้าพ่อตาดโตน (ด้วง) ตั้งอยู่ในบริเวณน้ำตกตาดโตน เป็นที่นับถือบูชาของชาวชัยภูมิและจังหวัดใกล้เคียง ท่านบำเพ็ญตนเป็นชีปะขาว ยึดมั่นในสมถะกรรมฐาน ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด และช่วยรักษาคนไข้เป็นที่นับถือเลื่อมใสของราษฎรมาก เมื่อ ท่านถึงแก่กรรมจึงสร้างศาลขึ้นเพื่อ เป็นที่เคารพสักการะของลูกหลานและประชาชนโดยทั่วไปโดยได้สร้างศาลไว้ หลายแห่ง และปัจจุบันมีประเพณี รำผีฟ้า ผีทรงบวงสรวงเจ้าพ่อเป็นประจำทุกวันพุธ และมีการบวงสรวงใหญ่ ปีละ4 ครั้ง 

  

สระหงษ์

สระหงษ์ อยู่ในบริเวณวัดเขาสระหงษ์ เป็นสระโบราณอยู่กลางเนินเขาเตี้ย ๆ กว้างประมาณ 5 วา 
ห่างจากสระนี้ประมาณ 3 เมตร มีหินก้อนหนึ่งลักษณะคล้ายรูปหงษ์ ซึ่งเป็นเองโดยธรรมชาติอยู่ในท้องที่ต.นาเสียว ห่างจากศาลากลางจังหวัดไปทางทิศ เหนือประมาณ 12 กิโลเมตร

น้ำตกตาดฟ้า หรือถ้ำเตี้ย

น้ำตกตาดฟ้า หรือถ้ำเตี้ย เป็นถ้ำเล็ก ๆ อยู่เชิงเขาภูอีเฒ่าและมีน้ำตกเป็นลานหินลาดชันประมาณ 30 องศา มีน้ำไหลตลอดปี มีแอ่งน้ำให้อาบหรือเล่นได้ อยู่ในท้องที่ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง ห่างจากจังหวัดไปทางทิศเหนือ ประมาณ 25 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 201